อิมมานูเอล คานต์ - วิกิพีเดีย อิมมานูเอล คานต์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา อิมมานูเอล คานต์ เกิด 22 เมษายน, พ.ศ. 2267 (เคอนิชส์แบร์ค, ราชอาณาจักรปรัสเซีย) (ปัจจุปันคือ คาลีนินกราด, ประเทศรัสเซีย) เสียชีวิต 12 กุมภาพันธ์, พ.ศ. 2347 (เคอนิชส์แบร์ค, ราชอาณาจักรปรัสเซีย) ยุค ปรัชญาศตวรรษที่ 18 แนวทาง ปรัชญาตะวันตก สำนัก Kantianism, ยุคแสงสว่างแห่งปัญญา ปรัชญา ความสนใจหลัก ญาณวิทยา, อภิปรัชญา, จริยศาสตร์ แนวคิดเด่น Categorical imperative, Transcendental Idealism, Synthetic a priori, Noumenon, Sapere aude ได้รับอิทธิพลจาก Wolff, Tetens, Hutcheson, Empiricus, Montaigne, ฮูม, เดส์การตส์, Malebranche, ไลบ์นิซ, สปิโนซา, ล็อก, บาร์กลีย์, Rousseau, นิวตัน, Emanuel Swedenborg เป็นอิทธิพลต่อ Fichte, Schelling, เฮเกิล, Schopenhauer, Nietzsche, Peirce, ฮุสเซิร์ล, ไฮเดกเกอร์, วิทท์เกนชไตน์, ซาร์ต, Cassirer, Habermas, Rawls, and many more ลายมือชื่อ อิมมานูเอล คานต์ อิมมานูเอล คานต์[1] (เยอรมัน: Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกิล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าว ๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ประวัติ[แก้] เกร็ดประวัติชีวิตที่น่าสนใจของนักปรัชญาผู้นี้คือคานต์ เกิดและตายที่เมืองเคอนิชส์แบร์ค (Konigsberg) ทางตะวันออกของปรัสเซีย และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเคอนิจส์แบร์กที่นั่น ทั้งชีวิตของเขาไม่เคยออกนอกเมืองดังกล่าวเลย แนวคิดของเขาส่งผ่านไปทั่วโลกโดยทางจดหมาย หลักศีลธรรมของเขาไม่เพียงแต่ปรากฏในแผ่นกระดาษเท่านั้น แต่เขายังถือปฏิบัติอย่างจริงจังอีกด้วย เขาครองโสดตลอดชีวิต มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ และไม่โอ้อวดในทางวิชาการ นอกจากนี้เขายังเป็นคนที่ตรงเวลามากอีกด้วย ทุก ๆ วันเขาจะออกจากบ้านเวลาเดียวกันเสมอ กระทั่งมีคำกล่าวว่า หากเห็นคานต์ออกจากบ้านเมื่อใดก็สามารถนำเวลานั้นมาตั้งหน้าปัดนาฬิกาของตนเองได้ อิมมานูเอล คานต์ มีชีวิตอยู่ในระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมัยอยุธยา และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยรัตนโกสินทร์ คานต์ ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 80 ปี อ้างอิง[แก้] ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548, หน้า 164 Broad C. D. Kant: An Introduction. Cambridge University Press, 1978. ISBN 0-521-21755-5, ISBN 0-521-29265-4 Gardner, Sebastian Kant and the Critique of Pure Reason. Routledge, 1999. ISBN 0-415-11909-X ดูเพิ่ม[แก้] อุตรภาพ (transcendental) ด ค ก นักปรัชญาตะวันตกคนสำคัญ ก่อนโสกราตีส · เธลีส · โสกราตีส · เพลโต · อาริสโตเติล · เอพิคิวรัส · โพลตินัส · พีร์โร · ออกัสตินแห่งฮิปโป · โบอีเทียส · อัลฟาราบี · แอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรี · ปีแยร์ อาเบลา · อะเวร์โรอีส · ไมมอนิดีส · ทอมัส อไควนัส · อัลแบร์ตุส มาญุส · ดันส์ สโกตัส · รามอง ยูย์ · วิลเลียมแห่งออกคัม · โจวันนี ปีโก เดลลา มีรันโดลา · มาร์ซิลิโอ ฟิชีโน · มีแชล เดอ มงตาญ · เรอเน เดการ์ต · โทมัส ฮอบส์ · แบลซ ปัสกาล · บารุค สปิโนซา · จอห์น ล็อก · นีโกลา มาลบรองช์ · กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ · จัมบัตติสตา วีโก · ชูเลียง โอเฟรย์ เดอ ลา เมตรี · จอร์จ บาร์กลีย์ · มงแต็สกีเยอ · เดวิด ฮูม · วอลแตร์ · ฌ็อง-ฌัก รูโซ · เดอนี ดีเดอโร · แฮร์เดอร์ · อิมมานูเอล คานต์ · เจเรอมี เบนทัม · ฟรีดริช ชไลเออร์มาเคอร์ · โยฮัน ก็อทลีพ ฟิชเทอ · G.W.F. เฮเกิล · ฟรีดริช ชิลเลอร์ · ฟรีดริช ฟอน ชเลเกิล · อาเทอร์ โชเพนเฮาเออร์ · เซอเรน เคียร์เคอกอร์ · เฮนรี เดวิด ทอโร · ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน · จอห์น สจวร์ต มิลล์ · คาร์ล มาคส์ · มีฮาอิล บาคูนิน · ฟรีดริช นีทเชอ · วลาดีมีร์ โซโลวีฟ · วิลเลียม เจมส์ · วิลเฮล์ม ดิลเทย์ · C. S. เพิร์ซ · กอทท์ลอบ เฟรเกอ · เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล · อองรี แบร์ซง · แอนสท์ คัสซิเรอร์ · จอห์น ดิวอี · เบนาเดตโต โกรเช · โคเซ ออร์เตกา อี กัสเซต · แอลฟริด นอร์ท ไวต์เฮด · เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ · ลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์ · แอนสท์ บลอค · เกออร์ก ลูคัช · มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ · รูดอล์ฟ คาร์นาพ · ซีโมน แวย · มอรีซ แมร์โล-ปงตี · ฌ็อง-ปอล ซาทร์ · ไอย์น แรนด์ · ซีมอน เดอ โบวัวร์ · จอร์จ บาไตลล์ · ธีโอดอร์ อดอร์โน · มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ · ฮานนาห์ อเรนดท์ · กอร์เนลีอุส กาสโตรีอาดิส ด ค ก ปรัชญาสังคมและการเมือง บทความที่เกี่ยวข้อง ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ · ปรัชญาการศึกษา · ปรัชญาประวัติศาสตร์ · นิติศาสตร์ · ปรัชญาสังคมศาสตร์ · ปรัชญาความรัก หัวข้อสำคัญ สังคม · สงคราม · กฎหมาย · ความยุติธรรม · สันติภาพ · สิทธิมนุษยชน · การปฏิวัติ · การดื้อแพ่ง · ประชาธิปไตย · สัญญาประชาคม ทฤษฎีทางสังคม อนาธิปไตย · อำนาจนิยม · อนุรักษนิยม · เสรีนิยม · อิสรนิยม · ชาตินิยม · สังคมนิยม · ประโยชน์นิยม · ทฤษฎีความขัดแย้ง · ทฤษฎีความเห็นหมู่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพลโต · โสกราตีส · อริสโตเติล · ขงจื๊อ · นักบุญออกัสติน · นักบุญโทมัส อควีนาส · มาเกียเวลลี · ฮอบส์ · ล็อก · รูโซ · มงแต็สกีเยอ · วอลแตร์ · อดัม สมิธ · โรเบิร์ต พีล · เอ็ดมันด์ เบิร์ก · มิล · แฟรงคลิน · ไลบ์นิซ · คานท์ · ทอโร · มหาตมา คานธี บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=อิมมานูเอล_คานต์&oldid=8604227" หมวดหมู่: บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2267 บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2347 นักปรัชญาชาวเยอรมัน นักปรัชญายุคเรืองปัญญา นักปรัชญาการเมือง บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: Biography with signature Articles with hCards หน้าที่ใช้ลิงก์พิเศษ ISBN รายการนำทางไซต์ เครื่องมือส่วนตัว ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ คุย ส่วนร่วม สร้างบัญชี เข้าสู่ระบบ เนมสเปซ บทความ อภิปราย สิ่งที่แตกต่าง ดู เนื้อหา แก้ไข ประวัติ เพิ่มเติม ค้นหา การนำทาง หน้าหลัก ถามคำถาม เหตุการณ์ปัจจุบัน สุ่มบทความ เกี่ยวกับวิกิพีเดีย ติดต่อเรา บริจาคให้วิกิพีเดีย มีส่วนร่วม คำอธิบาย เริ่มต้นเขียน ศาลาประชาคม เปลี่ยนแปลงล่าสุด ดิสคอร์ด เครื่องมือ หน้าที่ลิงก์มา การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวโยง อัปโหลดไฟล์ หน้าพิเศษ ลิงก์ถาวร สารสนเทศหน้า อ้างอิงบทความนี้ สิ่งนี้ใน วิกิสนเทศ พิมพ์/ส่งออก สร้างหนังสือ ดาวน์โหลดเป็น PDF รุ่นพร้อมพิมพ์ ในโครงการอื่น วิกิมีเดียคอมมอนส์ ภาษาอื่น Afrikaans Alemannisch አማርኛ Aragonés العربية الدارجة مصرى Asturianu Aymar aru Azərbaycanca تۆرکجه Башҡортса Žemaitėška Bikol Central Беларуская Беларуская (тарашкевіца)‎ Български भोजपुरी বাংলা Brezhoneg Bosanski Буряад Català Chavacano de Zamboanga Нохчийн Cebuano کوردی Čeština Чӑвашла Cymraeg Dansk Deutsch Zazaki Ελληνικά Emiliàn e rumagnòl English Esperanto Español Eesti Euskara Estremeñu فارسی Suomi Võro Føroyskt Français Arpetan Nordfriisk Frysk Gaeilge 贛語 Kriyòl gwiyannen Gàidhlig Galego ગુજરાતી עברית हिन्दी Fiji Hindi Hrvatski Magyar Հայերեն Interlingua Bahasa Indonesia Interlingue Ilokano Ido Íslenska Italiano 日本語 Patois Jawa ქართული Qaraqalpaqsha Taqbaylit Kabɩyɛ Қазақша ಕನ್ನಡ 한국어 Kurdî Кыргызча Latina Lëtzebuergesch Лезги Lingua Franca Nova Limburgs Ligure Ladin Lumbaart لۊری شومالی Lietuvių Latviešu मैथिली Malagasy Македонски മലയാളം Монгол मराठी Кырык мары Bahasa Melayu Malti Mirandés မြန်မာဘာသာ Эрзянь Nāhuatl Plattdüütsch नेपाली नेपाल भाषा Nederlands Norsk nynorsk Norsk bokmål Occitan Livvinkarjala ਪੰਜਾਬੀ Polski Piemontèis پنجابی پښتو Português Runa Simi Rumantsch Română Русский Русиньскый Kinyarwanda संस्कृतम् Саха тыла Sardu Sicilianu Scots Srpskohrvatski / српскохрватски Simple English Slovenčina Slovenščina Shqip Српски / srpski Sunda Svenska Kiswahili தமிழ் తెలుగు Тоҷикӣ Tagalog Tok Pisin Türkçe Татарча/tatarça Українська اردو Oʻzbekcha/ўзбекча Vepsän kel’ Tiếng Việt West-Vlams Volapük Winaray 吴语 მარგალური ייִדיש Yorùbá Zeêuws 中文 文言 Bân-lâm-gú 粵語 แก้ไขลิงก์ หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 เวลา 15:22 น. อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน และอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดูรายละเอียดที่ ข้อกำหนดการใช้งาน Wikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร ติดต่อเรา นโยบายความเป็นส่วนตัว เกี่ยวกับวิกิพีเดีย ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ มุมมองสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ผู้พัฒนา สถิติ นโยบายการใช้คุกกี้